วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่  5


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
เรียนครั้งที่ 5  เวลา  8.30 น. - 12.30 น.
กลุ่ม  102   ห้องเรียน  224  









ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) 
-เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
-เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

สาเหตุของ LD
-ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
-กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
-หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
-อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
 -ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

-จาน  
-ง่วง
-เลย
-โบราณ
-หนังสือ
-อรัญ

ลักษณะของเด็ก LDด้านการอ่าน
-อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
-อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
--เดาคำเวลาอ่าน
-อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
-อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
-ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
-ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
-เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
-เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
-เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
-เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สถิติ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
-ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
-เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
-เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน
     เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
-เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
-เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
-เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
-จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
-สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
-เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
-เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
-ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
-ตัวเลขผิดลำดับ
-ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
-ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
-แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
-ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
-นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
-คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
-จำสูตรคูณไม่ได้
-เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
-ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
-ตีโจทย์เลขไม่ออก
-คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
-ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
-แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
-มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
-เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
-งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
-การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
-สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
-เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
-ทำงานช้า
-การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
-ฟังคำสั่งสับสน
-คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
-ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
-ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
-ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
-ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน





7. ออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 
-เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
-ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
-ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
-เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
-ทักษะภาษา
-ทักษะทางสังคม
-ทักษะการเคลื่อนไหว
-ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่

"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 

ลักษณะของเด็กออทิสติก
-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
 -ไม่ยอมพูด
-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

ดูหน้าแม่
หันไปตามเสียง
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม
ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
จำหน้าแม่ได้
เปลี่ยนของเล่น
เคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย
สำรวจและเล่นตุ๊กตา
ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
-ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
-ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
-ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
-ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
-มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
-ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
-พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
-ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
-มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
-มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
-มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
-สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พฤติกรมการทำซ้ำ
-นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
-นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
-วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
-ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
-ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
-การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
-การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ

Autistic Savant
 -กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)
 -  จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
 -กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)
 -  จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)



ทักษะ  ( Skill )
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้ ( Application )
      นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในภายภาคหน้าจะได้มีความเข้าใจในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าเค้าเป็นแบบใดและจะมีวิธีการสอนเค้าอย่างไร

เทคนิคการสอน ( Technical )
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
-ใช้คำถามในการดึกความสนใจ

การประเมิน
ตนเอง - ตั้งใจเรียนบ้างเล่นบ่างแต่ก็พยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน
ครู - แต่งกายสุภาพ สอนสนุก
เพื่อน - ตั้งใจเรียน แต่ก็มีคุยมีเล่นบ้าง









บันทึกอนุทินครั้งที่  4


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
เรียนครั้งที่ 34 เวลา  8.30 น. - 12.30 น.
กลุ่ม  102   ห้องเรียน  224





  




4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders )

        เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
-เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
-ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด
-เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
-เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"

2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
-พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
-การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
-อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
-จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
-เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย

3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
-ความบกพร่องของระดับเสียง
-เสียงดังหรือค่อยเกินไป
-คุณภาพของเสียงไม่ดี

     ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย ของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language) 
-มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
-มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
-ไม่สามารถสร้างประโยคได้
-มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
-ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ


2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia 
-อ่านไม่ออก (alexia)
-เขียนไม่ได้ (agraphia)
-สะกดคำไม่ได้
-ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
-จำคำหรือประโยคไม่ได้
-ไม่เข้าใจคำสั่ง
-พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้

Gerstmann’s syndrome 
-ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
-ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
-คำนวณไม่ได้ (acalculia)
-เขียนไม่ได้ (agraphia)
-อ่านไม่ออก (alexia)

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
-ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง
-ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
-ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
-หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
-ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
-หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
-มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
-ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย

5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) 
-เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
-อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
-เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
-มีปัญหาทางระบบประสาท
-มีความลำบากในการเคลื่อนไหว


โรคลมชัก (Epilepsy)
-เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
-มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน

1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
-อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
-มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
-เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
-เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย

2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู

3.อาการชักแบบ Partial Complex
-มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
-เหม่อนิ่ง
-เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
-หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก

4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก

5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น







การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
-จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
-ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
-หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
-ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจาปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
-จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
-ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
-ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

ซี.พี. (Cerebral Palsy)
-การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
-การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน

1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
-spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
-spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
-spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
-spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
-athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
-ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) 
-เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว
-เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
-จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
-ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
-ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
-กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ















โปลิโอ (Poliomyelitis) 
-มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
-ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
-โรคระบบทางเดินหายใจ
-โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus )
- โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
- โรคมะเร็ง (Cancer)
 -เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)











แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) 

     ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
-ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
-ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
-มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
-หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
-หกล้มบ่อย ๆ
-หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ


 ทักษะ  ( Skill )
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้ ( Application )
 นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในภายภาคหน้าจะได้มีความเข้าใจในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าเค้าเป็นแบบใดและจะมีวิธีการสอนเค้าอย่างไร

เทคนิคการสอน ( Technical )
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
-ใช้คำถามในการดึกความสนใจ

การประเมิน
ตนเอง - ตั้งใจเรียนบ้างเล่นบ่างแต่ก็พยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน
ครู - แต่งกายสุภาพ สอนสนุก
เพื่อน - ตั้งใจเรียน แต่ก็มีคุยมีเล่นบ้าง







วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

 บันทึกอนุทินครั้งที่  3


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559
เรียนครั้งที่ 3  เวลา  8.30 น. - 12.30 น.
กลุ่ม  102   ห้องเรียน  224  




Knowledge (ความรู้)
แบ่งได้เป็น  2กลุ่ม  คือ


1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทาง
สติปัญญา   เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”
 เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
•เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
•มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
•พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
•เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
•อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
•มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
•จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
•มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
•มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
•เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
•มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน
•ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน

    เด็กฉลาด                                  
     •ตอบคำถาม                                  
     •สนใจเรื่องที่ครูสอน
     •ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน
     •ความจำดี
     •เรียนรู้ง่ายและเร็ว
     •เป็นผู้ฟังที่ดี
     •พอใจในผลงานของตน

     เด็กปัญาญาเลิศ
      •ตั้งคำถาม
      •เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
      •ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
      •อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
      •เบื่อง่าย
      •ชอบเล่า
      •ติเตียนผลงานของตน


ตัวอย่างเด็กที่มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา
Akrit Jaswal : ศัลยแพทย์อายุ 7 ขวบ

Akrit Jaswal เป็นชาวอินเดีย และได้รับการขนานนามว่า “เด็กผู้ชาย

ที่ฉลาดที่สุดในโลก” เพราะมี IQ ถึง 146 และได้รับการยอมรับว่าเป็น

คนที่ฉลาดที่สุดในเด็กที่อายุเท่า ๆ กันในอินเดีย ประเทศที่มีประชากร

นับพันล้านคน

Akrit กลายเป็นจุดสนใจของสาธารณะในปี 2000 เมื่อเขาได้ทำการ

รักษาคนไข้คนแรกที่บ้านของเขาเองเมื่อมีอายุเพียง 7 ขวบ คนไข้

เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 8 ขวบ มีฐานะยากจนไม่มีเงินพอที่จะไปหาหมอ

ได้ มือของเธอถูกไฟลวกทำให้นิ้วมือกำแน่นติดกัน Akrit ในตอนนั้น

ยังไม่ได้เรียนแพทย์ อย่างเป็นทางการและยังไม่มีประสบการณ์ในการ

ผ่า ตัดใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เขาก็สามารถทำให้นิ้วมือของเด็กหญิ งคลาย

ออกมาได้และใช้มือได้เป็นปกติอีก ครั้ง ขณะนี้ Akrit กำลังเรียน

ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์อยู่ที่ วิทยาลัย Chandigarh และเป็น

นักศึกษาที่อายุน้อยที่สุดที่ มหาวิทยาลัยอินเดียเคยรับเข้าเรียน

2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

มีทั้งหมด 9 ประเภท
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8. เด็กออทิสติก
9. เด็กพิการซ้อน

1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
(Children with Intellectual Disabilities)
        หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกันมี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน

เด็กเรียนช้า
  - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
  - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
  - ขาดทักษะในการเรียนรู้
  - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
  - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90

 สาเหตุของเด็กเรียนช้า

ภายนอก
•เศรษฐกิจของครอบครัว
•การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
•สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
•การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
•วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ

ภายใน
•พัฒนาการช้า
•การเจ็บป่วย

เด็กปัญญาอ่อน
  - ระดับสติปัญญาต่ำ
  - พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
  - มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
  - อาการแสดงก่อนอายุ 18

พฤติกรรมการปรับตน
•การสื่อความหมาย
•การดูแลตนเอง
•การดำรงชีวิตภายในบ้าน
•การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
•การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
•การควบคุมตนเอง
•การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
•การใช้เวลาว่าง
•การทำงาน
•การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น


เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม

1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
 - ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
 - ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น

2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
•ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเอ
ในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
•กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental
Retardation)

3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
- พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
- สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความ
  ละเอียดลออได้

- เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)

4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
•เรียนในระดับประถมศึกษาได้
•สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้•เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)


ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา

•ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
•ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
•ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
•ทำงานช้า
•รุนแรง ไม่มีเหตุผล
•อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
•ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome
สาเหตุ
•ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
•ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)

อาการ

•ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น
•หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
•ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
•ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
•เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
•ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
•มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
•เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
•ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง

•มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
•บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
•อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
•มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
•อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง

2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
 (Children with Hearing Impaired )

หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุ

 ให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจนมี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก

เด็กหูตึง

     หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม

1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
 
  เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ

2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูโ
- จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
- มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ

3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
- เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
- มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกับ
- มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
- พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด

4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
 - เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
- ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต
 - การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
- เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
- เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด


เด็กหูหนวก
 - เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
 - เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
 - ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
 - ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
•ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
•ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
•พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
•พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
•พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
•เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
•รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
•มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย

3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น   (Children with Visual Impairments)
- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง

 - มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
 - สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
 - มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท

เด็กตาบอด
- เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
- ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
- มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา

เด็กตาบอดไม่สนิท
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
- สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
- เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
•เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
•มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
•มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
•ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
•เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
•ตาและมือไม่สัมพันธ์กันมีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต


ทักษะ  ( Skill )
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้ ( Application )
      นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในภายภาคหน้าจะได้

มีความเข้าใจในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าเค้าเป็น

แบบใดและจะมีวิธีการสอนเค้าอย่างไร
เทคนิคการสอน ( Technical )
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
-ใช้คำถามในการดึกความสนใจ
การประเมิน
ตนเอง - ตั้งใจเรียนบ้างเล่นบ่างแต่ก็พยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน
ครู - แต่งกายสุภาพ สอนสนุก
เพื่อน - ตั้งใจเรียน แต่ก็มีคุยมีเล่นบ้าง






บันทึกอนุทินครั้งที่  2


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559
เรียนครั้งที่ 1  เวลา  8.30 น. - 12.30 น.
กลุ่ม  102   ห้องเรียน  224   




 Knowledge (ความรู้)

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
(Children with special needs )

  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ  (Children with special needs )

1. ทางการแพทย์ 

มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ”หมายถึง 

เด็กที่มีความผิดปกติมีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย  การสูญเสียสมรรถภาพ ทางสติปัญญา ทางจิตใจ

2. ทางการศึกษา 
ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล

พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนการ

•การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
•ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
•เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
•พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
•พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดบกพร่องทางพัฒนาการ

1.  พันธุกรรม
•    เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย 

2. โรคของระบบประสาท
•   เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย 
•  ที่พบบ่อยคืออาการชัก 

3. การติดเชื้อ
• การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
• นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง

4.ควาผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
•  โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนใน
    เลือดต่e

5. ภาวะแทรกซ้อนในระยะแรกเกิด
• การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน

6.สารเคมี
•ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
•มีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
•ภาวะตับเป็นพิษ
•ระดับสติปัญญาต่ำ 


7.แอลกอฮอล์
•น้ำหนักแรกเกิดน้อย
•มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
•พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
•เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

Fetal alcohol syndrome, FAS
•ช่องตาสั้น  
•ร่องริมฝีปากบนเรียบ
•ริมฝีปากบนยาวและบาง  
•หนังคลุมหัวตามาก
•จมูกแบน 
•ปลายจมูกเชิดขึ้น

7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมถึงการขาดสารอาหาร

8. สาเหตุอื่นๆ

แนวทางการวินิจฉัยความบกร่อง

  1. การซักประวัติ
• โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
• การเจ็บป่วยในครอบครัว
• ประวัติฝากครรภ์ 
• ประวัติเกี่ยวกับการคลอด      
• พัฒนาการที่ผ่านมา     
• การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง   
• ปัญหาพฤติกรรม   ประวัติอื่นๆ

2.การตรวจร่างกาย
•ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
•ภาวะตับม้ามโต 
•ผิวหนัง
•ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
•ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ

4.การประเมินฤติกรรม
•  การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
5.การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
•แบบทดสอบ Denver II
•Gesell Drawing Test 
แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล

ทักษะ  ( Skill )
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้ ( Application )
      นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในภายภาคหน้าจะได้มีความเข้าใจในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าเค้าเป็นแบบใดและจะมีวิธีการสอนเค้าอย่างไร
เทคนิคการสอน ( Technical )
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
-ใช้คำถามเพื่อดึงความสนใจ
การประเมิน
ตนเอง - ตั้งใจเรียน
ครู - แต่งกายสุภาพ  ตั้งใจสอน สอนเข้าใจ มีการเล่าเรื่องทรอดแทรงทำให้สนุก
เพื่อน - ตั้งใจเรียนบ้างเล่นบ้าง







 
บันทึกอนุทินครั้งที่  1


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิน
ประจำวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559
เรียนครั้งที่ 1  เวลา  8.30 น. - 12.30 น.
กลุ่ม  102   ห้องเรียน  224     





       การเรียนการสอนวันแรกของปีการศึกษา2559 ภาคเรียนที่ 2  อาจารย์บอกถึงแนวการสอนและวิธีการเรียนการสอนว่าจะ เรียนอะไรบ้างในภาคเรียนนี้  และบอกเกณฑ์การให้คะแนนของวิชานี้  และให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อทดสอบความรู้เดิมเกี่ยวกับเด็กพิเศษเพื่อที่จะได้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ได้มีการถามคำถามตอบโต้ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์เพื่อทดสอบดูความรู้เดิมที่มี